รู้หรือไม่ว่าน้ำประปาที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนั้นสามารถ “ดื่มได้” จากโครงการ “น้ำประปา ดื่มได้” ของการประปานครหลวงที่ดูแลคุณภาพน้ำให้ผู้ใช้น้ำมีน้ำสะอาดใช้ตลอด ไม่ว่าจะเป็น ที่พักอาศัย โรงเรียน โรงพยาบาล และอื่น ๆ ล้วนมีคุณภาพน้ำที่สะอาดและสามารถดื่มได้ทั้งสิ้น แต่จากผลสำรวจพบว่ามีเพียง 1 ใน 3 ของจำนวนสิ่งปลูกสร้างที่กล่าวมาข้างต้นเท่านั้นที่มีคุณภาพน้ำที่สะอาดพอที่จะดื่มได้จริง ๆ เพราะมีปัญหาความสะอาดของท่อ ระบบน้ำ หรือ ที่เก็บน้ำต่าง ๆ ของอาคารมีปัญหา วันนี้ทาง paiboonpipe จึงมาให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลท่อประปาและระบบน้ำภายในบ้าน
1. ท่อประปา
- ท่อประปาเหล็กอาบสังกะสีเป็นสนิม
ท่อเหล็กอาบสังกะสีที่ใช้งานเป็นเวลานานเกินกว่า 5 ปี อาจเป็นสนิม ทำให้น้ำประปามีคราบแดง เนื่องจากตะกอน สนิมปะปนอยู่ ดังนั้น หากให้ตรวจสอบดูว่าจุดไหนที่มีท่อเหล็กที่เป็นสนิมให้เปลี่ยนทันที - ท่อ หรือ อุปกรณ์ประปาแตกรั่ว
หากพบว่ามีการรั่วไหลเกิดขึ้นทั้งที่เกิดขึ้นเล็ก ๆ น้อย ๆ จากถังชักโครกหรือถังเก็บน้ำที่ลูกลอยชำรุด ทำให้น้ำไหลทิ้ง อยู่ตลอดเวลา ไปจนถึงการรั่วไหลมากอันเกิดจากท่อแตกรั่ว ควรรีบซ่อมแซมอุปกรณ์เหล่านั้นให้อยู่ ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ เพราะท่อและ อุปกรณ์ที่รั่วทำให้น้ำสูญเสียไปมาก และอาจเป็นเหตุให้สิ่งสกปรกเข้าไป ในเส้นท่อได้หากท่านใช้ เครื่องสูบน้ำ
2. เครื่องสูบน้ำ
การติดตั้งเครื่องสูบน้ำที่สูบโดยตรงจากเส้นท่ออาจดูดสิ่ง สกปรกจากบริเวณใกล้เคียง เช่น น้ำขุ่นจากท่อแตกรั่ว หรือน้ำแดงจาก ท่อสนิม เข้ามาในระบบท่อประปาในอาคารได้ ดังนั้นควรติดตั้งถังพักน้ำ เพื่อสำรอง น้ำไว้ก่อน แล้วจึงสูบจากถังพักน้ำนั้นจ่ายไปยังท่อประปา ภายในอาคาร จะได้น้ำที่สะอาดปลอดภัย
3. เครื่องกรองน้ำ
เครื่องกรองน้ำที่ใช้งานมานานโดยไม่ล้างหรือเปลี่ยนไส้กรอง อาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคและแบคทีเรียได้ ควรทำความสะอาด เครื่องกรองน้ำอยู่เสมอ
4. ถังพักน้ำ และ ถังเก็บน้ำ
ควรล้างทำความสะอาดอย่างน้อยทุก 6 เดือน หากไม่มี การล้างถังพักน้ำและถังเก็บน้ำเลย สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่เล็ดรอดเข้าไป จะเจริญเติบโตเพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้น้ำประปาปนเปื้อนสิ่ง สกปรกโดยไม่รู้ตัว ถังพักน้ำมักเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้น้ำ ไม่ได้มาตรฐาน
แหล่งที่มา : กรมส่งเสริมสุขภาพสิ่งแวดล้อม